วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ของแถม...ที่ไม่ต้องการ

ของแถม... ที่ไม่ต้องการ

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และในการปลูกพืชย่อมหลีกเลี่ยงปัญหาศัตรูพืชซึ่งท้ายสุดมักจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค รวมไปถึง และการใช้สารเคมีอย่างฟุ่มเฟือย การทำการเกษตรในแต่ละปีเกษตรกรได้ผลผลิตจากการเกษตรออกสู้ท้องตลาดมากมายโดยเฉพาผลิตภัณฑ์ที่เป็นพืชผัก ผลไม้ ทั้งนี้ส่วนใหญ่ผลผลิตที่นำมาขายในท้องตลาดนั้นยอมมีความสวยงามเป็นที่น่ารับประทาน ซึ่งเกษตรกรนั้นมีวิธีการดูแลรักษาโดยการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช วัชพืชเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมีความสะดวกสบายไม่มีขั้นตอนการใช้ที่ซับซ้อน เพื่อไม่ให้สิ่งที่เข้ามาก่อกวนพืชผลผลิตนั้นเกิดความเสียหรือไม่ได้ผลผลิตตามต้องการมีผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นบางครั้งเกษตรกรไม่ทราบว่าเป็นผลจากสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้อยู่ เช่น มีอาการอ่อนเพลียหรือเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในร่างกายเป็นเวลานานเนื่องจากเกษตรกรต้องสัมผัสกับสารเคมีอยู่เป็นประจำ เป็นพิษติดสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย
 เกษตรกร ส่วนใหญ่จึงมีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช วัชพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีความสวยงาม เป็นที่ต้องการของตลาด และเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เป็นไปตามความต้องการ หรือหวังผลกำไรจากการทำการเกษตรในแต่ล่ะครั้ง โดยไม่คำนึงถึงสารเคมีที่ตกค้างในผลผลิตที่ผลิตออกมาสู้ท้องตลาด ซึ่งสารเคมีที่ใช้ในกำจัดศัตรูพืช วัชพืช ในการทำการเกษตรนั้นเป็นสารที่

          สารกำจัดศัตรูพืช คืออะไร
สารกำจัดวัชพืช, หรือ ยาฆ่าหญ้า เป็นสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ฆ่าพืชที่ไม่ต้องการ ยากำจัดวัชพืชใช้ในการจัดการพื้นที่รกร้างหรือควบคุมวัชพืชในการเกษตร ยากำจัดวัชพืชมีการใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ยาฆ่าหญ้ามีทั้งชนิดเลือกทำลายและไม่เลือกทำลาย ชนิดเลือกทำลายมีฤทธิ์ฆ่าพืชเฉพาะชนิด เช่น 2,4-D ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าทำลายเฉพาะพืชใบกว้าง โดยอาศัยส่วนประกอบทางเคมีที่เป็นฮอร์โมนพืชสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อถูกดูดซึมจะไปรบกวนเฉพาะกระบวนการเติบโตของพืชใบกว้าง ชนิดไม่เลือกทำลายมี ฤทธิ์ฆ่าพืชทุกชนิด เช่น ไกลโฟเสต และ พาราคว็อท
          สารกำจัดศัตรูพืช เป็นสารที่ใช้เพื่อป้องกัน ทำลาย ไล่หรือ ลดปัญหาของศัตรูพืช
สารกำจัดศัตรูพืช อาจเป็นสารเคมี หรือ สารชีวภาพ (เช่น ไวรัส หรือ แบคทีเรีย) ที่ใช้สัตว์ (แมลง หนู หอย) วัชพืช หรือ จุลชีพ ที่ก่อความเสียหาย ทำลาย กับ พืชหลักที่เพาะปลูก
การนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
กราฟแสดงปริมาณการนำเข้าสารกำจัดวัชพืช ปี พ.ศ. 2545-2552
ในส่วนของการนำเข้า สารกำจัดวัชพืชในปี พ.ศ. 2545-2552 นั้นมีปริมาณการนำเข้าสารกำจัดวัชพืชคือ ในปี 2545 นั้นมีการนำเข้าน้อยที่สุด และปี 2552 มีปริมาณการนำเข้ามากที่สุด ถึง 85,821 ตัน ถึงแม้ว่า การนำเข้าสารกำจัดวัชพืชมีการสลับกับขึ้นๆลงๆแต่คาดว่าปีต่อไปจะมีการนำเข้าสารกำจัดวัชพืชเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัจจัยในการผลิตพืชนั้นมีหลายประการ  เช่น น้ำ พันธ์พืชที่ดี ดินที่มีความสมบูรณ์ การที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลนั่นมีส่วนที่ทำให้วัชพืชเกิดขึ้นมารบกวนผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร ซึ่งวิธีที่ง่ายต่อการกำจัดคือการใช้สารเคมี โดยเฉพาะสารกำจัดวัชพืช



              ตัวอย่าง : สารกำจัดวัชพืช









          สถานการณ์ปริมาณการนำเข้าสารกำจัดแมลงปี พ.ศ. 2545-2552 มีแนวโน้มในการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งปี ที่มีการนำเข้าสารกำจัดแมลงมาก คือ พ.ศ. 2551 มีปริมาณการนำเข้าถึง 25,332 ตัน ซึ่งเป็นปีที่มีการนำเข้าสารกำจดแมลงมากที่สุด มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากว่าใน ปี พ.ศ. 2552 นั้น มีการนำเข้าสารกำจัดแมลงน้อยลงกว่าปี พ.ศ. 2551 เหลือปริมาณการนำเข้าเพียง 19,709 ตัน แนวโน้มในปีต่อไปคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากว่า ทั้งเกษตรกร และผู้บริโภคนั้นต่างตระหนักถึงสารเคมีที่ตกค้างในพืชผัก ซึ่งมีผลถึงแก่ชีวิตจากการใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง อีกทั้งรัฐมีการส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าปลอดสารพิษและมีวิธีการทางธรรมชาติเพื่อกำจัดแมลง และลดการใช้สารเคมีด้วย





ตัวอย่าง: สารกำจัดแมลง


แนวโน้มการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช
เกษตรกรมีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชเป็นปัจจัยหลักอาจเทียบเท่ากับการใช้ปุ๋ยเคมี และจะเห็นได้ว่า สารกำจัดวัชพืชนั้นมีปริมาณการนำเข้ามากกว่าสารกำจัดแมลง ในทุกๆปีที่มีการนำเข้าและมีแนวโน้มว่าในปีต่อไปนั้น สารกำจัดวัชพืชและสารกำจัดแมลง จะมีปริมาณการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งสาเหตุส่วนให้ที่เกษตรกรเลือกใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช เพราะสามารถปฏิบัติได้ หาได้ง่าย และราคา เป็นต้น เกษตรกร ก็ใช้หลักการเดียวกันในการตัดสินใจดำเนินการจัดการ ถ้ามีทางเลือกมากทำไมเกษตรกรต้องใช้สารเคมีที่กล่าวถึงในการผลิตพืชเพราะว่าเกษตรกรต้องทำให้เกิด ความสมดุลของปัจจัยต่าง ๆ ในการผลิต ได้แก่ ความต้องการแรงงาน ค่าใช้จ่าย ปริมาณสารเคมีที่ใช้ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าจะประสบความสำเร็จ ในพืชที่ปลูกและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเกษตรกรทำความสมดุล



ผลกระทบของการใช้สารเคมีในการเกษตรด้านต่างๆ
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การทำเกษตรแผนใหม่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติตามมาที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ ปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมและปัญหาการระบาดของโรคและแมลง
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจากการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชในแต่ละครั้งจะใช้ประโยชน์ได้เพียง 25% ที่เหลืออีก 75% จะกระจายสะสมในดิน น้ำ และอากาศในสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือคือ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ได้ทำลายเฉพาะศัตรูพืชเท่านั้น แต่ยังทำลายแมลงและจุลินทรีที่เป็นประโยชน์ในธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งเป็นการทำลายความสมดุลของระบบนิเวศในธรรมชาติ และผลที่ตามมาคือ การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชที่รุ่นแรงมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ทำลายผลผลิตข้าวในประเทศไทย
ผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายของเกษตรกรผู้ใช้ และยังมีสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย การใช้สารเคมีทางการเกษตรนานๆ จนทำให้พืชผักมีพิษตกค้างจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค จากการตรวจพบสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย พบว่า ผลผลิตมีสารพิษตกค้างอยู่สูงจนในผลผลิตบางชนิดไม่ผ่านมาตรฐานมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย นอกจากนี้การที่คนไทยบริโภคผลผลิตที่มีสารพิษตกค้างอยู่ทำให้มีการสะสมสารพิษในร่างกายเป็นระยะเวลานาน และเกิดการเจ็บป่วย เช่น โรคภูมิแพ้ โรคเครียด โรคมะเร็ง ฯลฯ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ซึ่งจะเห็นได้จากสถิติคนไทยที่ป่ายเป็นโรคมะเร็งมีจำนวนมากขึ้นทุกปี
                ผลกระทบต่อวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เกษตรกรรมแผนใหม่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย ทำลายฐานการเกษตรแบบยังชีพของเกษตรกร ทำลายระบบสังคมของชุมชน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดที่มีต่อภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกละเลย ด้วยเข้าใจว่าเป็นความเชื่อ หรือวิธีการปฏิบัติที่ไม่ทันสมัย ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ และไม่มีประสิทธิภาพ โดยลืมไปว่าความรู้และภูมิปัญญาที่ถูกถ่ายทอดต่อๆ กันมาได้มาจากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนมานานหลายรุ่น ที่อยู่ในพื้นที่ท้องถิ่นที่พวกเขาอาศัยอยู่ การพัฒนาและแก้ไขปัญหาของเกษตรกรกลายเป็นบทบาทของผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรจากหน่วยงานของรัฐ หรือบริษัทการเกษตรที่เข้าไปเปลี่ยนแปลงความคิดและวิถีชีวิตของการทำการเกษตร โดยที่เกษตรกรกลายเป็นเพียงผู้รับเท่านั้นเอง ซึ่งหากองค์ความรู้ที่ได้รับนั้นไม่ถูกต้อง ผู้ที่ได้รับความเสียหายคือตัวของเกษตรกรเอง
ในปัจจุบันเกิดภาวการณ์แข่งขันในการการผลิตผลผลิตทางการเกษตรสูงและมีการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นตัวช่วยในการที่จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรนั้น ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด และผู้บริโภค เกษตรกรควรมีกระบวนการในการจัดการกับศัตรูพืชด้วยวิธีที่เหมาะสมและถูกต้องในการใช้สารเคมีและมีการควบคุมสารไม่ให้มีการตกค้างที่ผลผลิต ต้องมีการปฏิบัติตามกระบวนการการผลิตและเหมาะสม ตั้งแต่การเลือกใช้พันธ์ที่ดี มีการปลูกถูกต้องตามมาตรฐาน ตรงตามฤดูกาล มีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการลดใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช อีกทั้งเป็นการลดต้นทุนในการลิต และช่วยลดการนำเข้าสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดแมลงด้วย เปลี่ยนการใช้สารเคมีเป็นการใช้วิธีกำจัดศตรูพืชโดยธรรมชาติเอง เช่น การที่มีแมลงที่เป็นแมลงกินแมลงเป็นอาหาร ดูแลพืชผล โดยการดายหญ้า หลีกเหลี่ยงใช้สารกำจัดวัชพืชการบริโภคพืชผักต่างๆ เป็น
ประจำจะทำให้ระบบย่อยและขับถ่ายเป็นปกติ สุขภาพแข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส ปัจจุบันจึงมีการส่งเสริมให้มีการบริโภคผักกันอย่างกว้างขวาง แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคกังวลในการบริโภคผักคือ สารพิษกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกใช้เพื่อกำจัดศัตรูพืช ซึ่งได้แก่ แมลงชนิดต่างๆ โรคพืชวัชพืช รวมทั้งสัตว์ศัตรูพืช เกษตรกรมักเก็บเกี่ยวพืชผักก่อนที่สารพิษเหล่านั้นจะสลายตัวหมด ทำให้สารพิษตกค้างอยู่ ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับสารพิษซึ่งบางชนิดเป็นสารพิษที่มีพิษสูงเป็นอันตรายร้ายแรงกับผู้บริโภคบางครั้งถึงแก่ชีวิต



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น