วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อากาศที่เมืองไทย

“อากาศที่เมืองไทย”

หลังจากปี 2552 อากาศจะร้อนยิ่งกว่าปี 2541 ซึ่งเป็นปีที่โลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์  ช่วงศตวรรษที่ 21 จะเกิดภาวะโลกร้อนเพราะปรากฏการณ์เรือนกระจก ผลการศึกษาใหม่ของสำนักอุตุนิยมวิทยาอังกฤษพยากรณ์ว่าสภาพอากาศในช่วง 10 ปีหลัง พบว่าโลกร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป  นักวิจัยระบุว่าการพยากรณ์สภาพอากาศในช่วง 10  ปี  จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางแผนปรับปรุง   สาธารณูปโภค การประกันภัย นโยบายพลังงานและการพัฒนาธุรกิจ เพราะแบบจำลองการพยากรณ์พบว่า ช่วงเวลาสั้นๆนี้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติจะมีอิทธิพล ต่อสภาพอากาศมากกว่าภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์เป็นการบ่งบอกว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์จะส่งผลต่อสภาพอากาศในระยะยาว
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  เพิ่งจะได้รับความสนใจอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอดีต เช่น สาเหตุที่ทำให้เกิดยุคน้ำแข็งซึ่งปัจจุบันยังหาข้อสรุปที่แน่นอนไม่ได้  นักวิทยาศาสตร์ต่างเห็นพ้องกันว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเป็นเรื่องในอดีต ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานตามจุดทางธรรีวิทยา และระยะเวลา 10-20 ปี ที่ผ่านมานี้ พบว่า ค่าของธาตุประกอบภูมิอากาศที่ตรวจวัดได้แตกต่างไปจากค่าปกติทางสถิติ สรุปได้ว่าตามธรรมชาติแล้ว ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป   เหตุผลที่ทำให้มนุษย์ให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ  จากรายละเอียดการเกิดภูมิอากาศในอดีต ชี้ให้เห็นว่า ภูมิอากาศผันแปรอยู่ตลอดเวลา และเชื่อว่าภูมิอากาศในอนาคตจะแตกต่างจากปัจจุบัน   จากการวิจัยเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์และอิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีส่วนทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ตั้งใจ











สภาวะอากาศของประเทศไทย พ.. 2552
ปี 2552 ประเทศไทยมีฝนดีในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่วนเดือนอื่นๆเกือบทุกภาคมีฝนน้อยปริมาณฝนรวมทั่วประเทศตลอดปีสูงกว่าค่าปกติประมาณ 2 % แต่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา (ปี 2551 มีปริมาณฝน1751.4 มม. สูงกว่าค่าปกติ 11%)      และในปีนี้มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยเพียง 1 ลูก คือ    พายุ     ดีเปรสชันที่อ่อนกำลังลงจากไต้ฝุ่นกิสนาโดยเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณอำเภอโขงเจียม   จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 กันยายน และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุม    บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษในวันต่อมา ส่งผลให้ประเทศไทยมีการกระจายของฝนเพิ่มขึ้นกับมี    ฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง และมีรายงานน้ำท่วมบางพื้นที่ในช่วงดังกล่าว  
 พยากรณ์อากาศ บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศหนาวเย็น ส่วนภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลงหลังช่วงวันที่ 8-12.. 2552 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง 2-5 องศา อากาศหนาวเย็นลงโดยทั่วไปและมีลมแรงส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น   และคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรง   ภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตก










สำหรับในช่วงต้นปีซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวบริเวณประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางเดือนมกราคมอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เนื่องจากอิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยเป็นระยะ ๆ  นอกจากนี้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและ ภาคใต้มีกำลังแรงเป็นระยะๆ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนแทบไม่มีรายงานฝนตกส่วนภาคใต้มีฝนเป็น  ระยะๆส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค เมื่อเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์บริเวณประเทศไทยยังคงมีอากาศหนาว  เย็นทั่วไปในตอนเช้าในระยะครึ่งแรกของเดือนโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวเย็นทางตอนบนของภาคจนถึงสิ้นเดือน ส่วนในระยะครึ่งหลังของเดือนบริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยเริ่มอ่อนกำลังลง ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้หลายพื้นที่ของประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศร้อนตั้งแต่กลางเดือน โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนทั่วไปอย่างต่อเนื่องและบางพื้นที่มีอุณหภูมิสูงสุดสูงขึ้นจนทำลายสถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้ และอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนนี้สูงกว่าค่าปกติทั่วประเทศ   



           







ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรบการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิอากาศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(START) จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย ดร. อานนท์  สนิทวงศ์  ณ อยุธยา  แม้สภาพอากาศที่แปรปรวนในหลายประเทศ โดยเฉพาะกรณีการเกิดพายุหิมะถล่ม และพายุน้ำแข็งในประเทศสหรัฐ อเมริกา อย่างที่เคยเป็นมาก่อนนั้น ภาวะความแปรปรวนดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบกับเมืองไทย ซึ่งหากจะมีผลกระทบมาจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับภูมิภาคมากกว่า  และขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าไทยจะเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่วิกฤติเหมือนกับประเทศอื่น การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศในปี 2552 โดยรวมอยู่ในลักษณะปกติ   ส่วนอากาศเย็น มองว่าสาเหตุเป็นเพราะคนไทยไม่ได้เตรียมตัวว่าอากาศจะเย็น ซึ่งถ้าดูจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว อากาศเย็นจัดส่งผลกระทบต่อพืชผลการเกษตรเสียหาย ที่สำคัญอากาศเย็น ยังทำให้กระตุ้นการท่องเที่ยวในภาคเหนือให้มีเศรษฐกิจดีขึ้นด้วย



ข้อเสนอแนะ
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ตอนนี้กำลังได้รับผลกระทบเป็นระยะโดยเฉพาะเรื่องระบบนิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ  อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศที่จะแปรปรวนมากขึ้น เช่น พายุจะเกิดบ่อยขึ้น  ภาวะฝนตกทิ้งช่วง  ความแห้งแล้งจะเกิด และเมื่อฝนตกจะเกิดภาวะน้ำท่วมและดินถล่มตามมา ภัยธรรมชาติเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว  ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ  ซึ่งหากว่าประเทศยังไม่มีการเตรียมการรับมือ และหากเกิดอุบัติภัยจากธรรมชาติขึ้น ความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินก็จะเกิดขึ้นอย่างประเมินค่าไม่ได้ถึงแม้ปัจจุบันทุกประเทศจะให้ความสำคัญมากขึ้นถึงอย่างไรทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้นั้น คือ การวางแผนเตรียมการไว้เมื่อเกิดปัญหาจะได้รับมือได้และผลเสียก็อาจเกิดขึ้นได้น้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นเลย

2 ความคิดเห็น: